ข้อสอบแบบจัดชุด (สุ่มโดยระบบ) (ข้อ 1)

  • 00
  • :
  • 00
  • :
  • 00
  • 00
  • :
  • 00
  • :
  • 00
 CALC 


ในการตอบคำถามเรื่อง "การทำงานทางไกล" นักเรียนต้องอ่านบทความที่อยู่ทางด้านขวา
  • อ่านบทความทางด้านขวา
  • แล้วคลิกที่ลูกศรถัดไป เพื่อดูคำถามข้อแรก

การทำงานทางไกล

วิถีทางแห่งอนาคต
ลองจินตนาการว่ามันจะวิเศษอย่างไรถ้าสามารถ “ทำงานทางไกล”1 บนสายด่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่งานทุกอย่างของคุณทำผ่านคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์! ไม่ต้องขึ้นไปเบียดในรถเมล์หรือรถไฟที่คนแน่นอีกต่อไป หรือไม่ต้องเสียเวลาเป็นชั่วโมงๆ เดินทางไป-กลับที่ทำงาน คุณสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ที่ต้องการ ลองคิดถึงโอกาสทั้งหมดในการทำงานที่อาจจะเกิดขึ้น!

มาลี


ความหายนะจากการปฏิบัติ
การลดชั่วโมงการเดินทางและลดการใช้พลังงานที่เกี่ยวข้อง เห็นได้ชัดว่าเป็นความคิดที่ดี แต่เป้าหมายนั้นควรทำให้สำเร็จโดยการพัฒนาการขนส่งมวลชน หรือการรับประกันว่าที่ทำงานจะตั้งอยู่ใกล้กับที่อยู่อาศัยของผู้คน ความคิดที่ทะเยอทะยานว่าการทำงานทางไกลควรเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตมีแต่จะนำพาผู้คนให้หมกมุ่นอยู่กับตัวเองมากขึ้นเท่านั้น เราต้องการจริงๆ หรือที่จะให้ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนหดหายไป

สุชาติ


1 “การทำงานทางไกล” (Telecommuting) เป็นคำที่บัญญัติขึ้นโดย แจ๊ค นิลส์ ในช่วงต้นของทศวรรษที่ 1970 เพื่อบอกถึงสถานการณ์ที่ผู้ทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ห่างจากสำนักงานกลาง (เช่น ที่บ้าน) และส่งข้อมูลและเอกสารไปยังสำนักงานกลางทางสายโทรศัพท์

จากเรื่อง "การทำงานทางไกล" ทางด้านขวา ให้คลิกหนึ่งตัวเลือกเพื่อตอบคำถาม

ความสัมพันธ์ระหว่าง “วิถีทางแห่งอนาคต” กับ “ความหายนะจากการปฏิบัติ” คืออะไร

เขาใช้ข้อโต้แย้งที่ต่างกันเพื่อลงข้อสรุปรวมเดียวกัน
เขาเขียนในรูปแบบที่เหมือนกันแต่เป็นหัวข้อที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
เขาแสดงมุมมองทั่วไปที่เหมือนกัน แต่ไปถึงช่วงสรุปที่ต่างกัน
เขาแสดงมุมมองที่ขัดแย้งกันในหัวข้อเดียวกัน

การทำงานทางไกล

วิถีทางแห่งอนาคต
ลองจินตนาการว่ามันจะวิเศษอย่างไรถ้าสามารถ “ทำงานทางไกล”1 บนสายด่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่งานทุกอย่างของคุณทำผ่านคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์! ไม่ต้องขึ้นไปเบียดในรถเมล์หรือรถไฟที่คนแน่นอีกต่อไป หรือไม่ต้องเสียเวลาเป็นชั่วโมงๆ เดินทางไป-กลับที่ทำงาน คุณสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ที่ต้องการ ลองคิดถึงโอกาสทั้งหมดในการทำงานที่อาจจะเกิดขึ้น!

มาลี


ความหายนะจากการปฏิบัติ
การลดชั่วโมงการเดินทางและลดการใช้พลังงานที่เกี่ยวข้อง เห็นได้ชัดว่าเป็นความคิดที่ดี แต่เป้าหมายนั้นควรทำให้สำเร็จโดยการพัฒนาการขนส่งมวลชน หรือการรับประกันว่าที่ทำงานจะตั้งอยู่ใกล้กับที่อยู่อาศัยของผู้คน ความคิดที่ทะเยอทะยานว่าการทำงานทางไกลควรเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตมีแต่จะนำพาผู้คนให้หมกมุ่นอยู่กับตัวเองมากขึ้นเท่านั้น เราต้องการจริงๆ หรือที่จะให้ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนหดหายไป

สุชาติ


1 “การทำงานทางไกล” (Telecommuting) เป็นคำที่บัญญัติขึ้นโดย แจ๊ค นิลส์ ในช่วงต้นของทศวรรษที่ 1970 เพื่อบอกถึงสถานการณ์ที่ผู้ทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ห่างจากสำนักงานกลาง (เช่น ที่บ้าน) และส่งข้อมูลและเอกสารไปยังสำนักงานกลางทางสายโทรศัพท์